Skip to main content

ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ ภัยเงียบเสี่ยงอัมพาต

          โรคที่เกี่ยวกับ หลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่อันตรายและน่ากลัวเป็นอันดับต้นๆ ของคนยุคปัจจุบัน เพราะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้นตามลำดับทั้งที่อยู่ในวัยกลางคนเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากนับรวมบรรดาโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทั้งหลายแล้ว ภาวะเส้นเลือดสมองตีบหรือแตกนี้พบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน (รองจากโรคหัวใจ) ดังนั้นวันนี้ไปดูปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคนี้ เพื่อหาทางป้องกันหรือหลีกเลี่ยงกันค่ะ



ปัจจัยเสี่ยงเส้นเลือดในสมองตีบ
  • เพศชาย มีความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดในสมองตีบ รวมไปถึงโรคในตระกูลหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้หญิง
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพลงไปด้วย ผิวชั้นในของผนังหลอดเลือดด้านในอาจจะหนา หรือแข็งขึ้นจากการที่มีไขมัน หรือหินปูนมาเกาะ ทำให้รูในเส้นเลือดแคบลง เลือดก็ไหลเวียนได้น้อยลง
  •  
  • อยู่ในภาวะพบการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ทำให้มีความเสี่ยงของการที่เม็ดเลือดจับตัวกัน หรือเกิดลิ่มเลือดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  • ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ
  • เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย หากเกิดอาการหลอดเลือดแข็งที่สมอง ก็จะมีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองอื่นๆ มากกว่าคนทั่วไปถึง 2-3 เท่า
  • ไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยที่สำคัญของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ เพราะอยู่ในภาวะไขมันสะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดมากเกินไป จนทำให้เข้าไปกีดขวางการลำเลียงเลือดเข้าสู่สมอง
  • โรคหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด และอาจเข้าไปอุดตันที่เส้นเลือดในสมอง จนทำให้สมองขาดเลือดได้
  • สูบบุหรี่ เพราะนิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง เป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งตัว เพียงแค่สูบบุหรี่ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองมากถึง 3.5 %
  • ยาคุมกำเนิด ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเป็นเวลาติดต่อกัน อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้ยาคุมกำเนิด
  • โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของอาการหลอดเลือดอักเสบ และหลอดเลือดแข็ง

โรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะไม่มีใครรู้ได้ว่า ในวันนี้ที่เรายังดูแข็งแรง พูดคุย ทำกิจกรรมอะไรได้ตามปกติ แต่ในวันรุ่งขึ้นเราอาจกลายเป็นคนพิการ หรือ อัมพาต จากการคุกคามของโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นอย่าปล่อยปละละเลยสุขภาพของตัวเอง และพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคด้วยนะคะ

แหล่งที่มา sanook.com/health/10749/

Comments

Popular posts from this blog

เครื่องมือแพทย์สามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้

               ถ้าพูดถึงยาสามัญประจำบ้านเราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะเป็นยาที่ควรจะมีติดบ้านเพื่อใช้ในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็น  เครื่องมือแพทย์ สามัญประจำบ้าน หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นและมองว่าไกลตัว ไม่ต้องมีติดบ้านก็ได้ แต่จริงๆแล้วก็มีความสำคัญพอๆกับยาสามัญเลยนะคะ ซึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ควรมีติดบ้านก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมาชิกในครอบครัวนั้นด้วย ควรมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ เครื่องชั่งน้ำหนัก  ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อ้วนขึ้น ผอมลง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือควรทานอาหารให้มากขึ้น ปรอทวัดไข้  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งกับบ้านที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กหรือทารก ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีไข้หรือป่าว ไข้สูงระดับที่ต้องพบแพทย์หรือยัง เครื่องวัดความดัน  จำเป็นอย่างมากในบ้านที่มีผู้สูงอายุ เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ เครื่อง

ความดันต่ำ ความดันสูง ดูยังไงความดันเท่าไรถึงอันตราย

โรคเรื้อรังที่คนไทยเป็นกันมาก และมีแนวโน้มจะเกิดกับวัยทำงานที่อายุน้อยมากขึ้นอย่างโรคความดันโลหิตสูงแล้วโรคความดันโลหิตสูงอันตรายขนาดไหน หรือในบางคนเคยใช้ เครื่องวัดความดัน แล้วผลออกมาว่าความดันต่ำ แล้วความดันโลหิตปกติจะต้องอยู่ที่เท่าไรวันนี้มาหาคำตอบกันค่ะ ความดันปกติควรอยู่ที่เท่าไร ความดันโลหิตปกติ คือ 120/80-139/89 มม.ปรอท แต่ทั้งนี้ค่าความดันโลหิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น อารมณ์ ความเครียด ความตื่นเต้น การออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ ส่งผลให้แรงดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้ความดันเลือดมีค่าเกินกว่าภาวะปกติชั่วคราว  การวัดระดับความดัน สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า การวัดระดับความดันโลหิต นั้นสามารถบ่งบอกได้ว่า ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะใด เป็นการตรวจวัดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นภาวะความดันโลหิตสูง หรือ ภาวะความดันโลหิตต่ำล้วนส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเราทั้งสิ้น เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ มักเกิดจากการที่ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะ ดื่มน้ำน้อย ร่างกายสูญเสียน้ำ หรือเสียเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง ว่าสูงหรือผิดปกติหรือเปล่า

              ส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดูแลรักษาโรคเบาหวานนั่นก็คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในร่างกายสูงจนเกินไป มีสองวิธีในการวัดระดับน้ำตาลในเลือดนั่นก็คือการใช้ เครื่องมือแพทย์  เครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้าน และวิธีที่สองก้คือการตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) การตรวจนี้จะต้องทำการตรวจที่สถานพยาบาล ซึ่งจะช่วยบอกระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา วันนี้มาพูดถึงการใช้เครื่องวัดน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้านกันค่ะ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองได้อย่างไร การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด้วยตนเองจะใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลขนาดเล็กพกพาได้ ซึ่งจะใช้เลือกปริมาณเล็กน้อยจากการเจาะปลายนิ้วมือ คุณสามารถหาซื้อเครื่องมือแพทย์นี้ ในตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองและอุปกรณ์ต่างๆ จากร้านขายยาและให้จดบันทึกวัน เวลา และค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจวัดได้ไว้เสมอ และนำผลการตรวจที่จดบันทึกนี้ไปให้แพทย์ดูทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ ระดับน้ำตาลที่ถือว่าปกตินั้น ทั่วไปแพทย์จะแนะนำค่าเป้าหมายดังนี้ ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร: 80 – 1