Skip to main content

ข้อแนะนำก่อนซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาใช้ที่บ้าน สำหรับผู้สูงอายุ

              โรคความดันโลหิตสูง เป็นอีหนึ่งโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป โดยค่าความดันที่อยู่ในเกณฑ์ความดันโลหิตสูง ต้องมีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140-159 (ตัวบน) หรือ 90-99 ตัวล่าง ซึ่งความดันโลหิตนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เครื่องวัดความดันโลหิตจึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ สำหรับผู้สูงอายุที่ควรมีไว้ติดบ้าน เพื่อตรวจวัดความดันของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากพบความผิดปกติจะได้รักษาอย่างทันท่วงทีนั่นเองค่ะ




การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตสำหรับใช้ที่บ้าน

1. ควรเลือกใช้เครื่องวัดแบบดิจิตอล เพราะสะดวกและใช้งานง่ายสำหรับผู้สูงอายุค่ะ
2. สายรัดแขนสามารถใส่ได้ง่าย การเลือกเครื่องวัดความดันที่มีสายรัดแขนซึ่งสวมใส่ได้ด้วยตนเองนับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากทำให้ผู้วัดความดันสามารถทราบค่าความดันโลหิตของตนเองได้ แม้จะอยู่ลำพังค่ะ
3. มีความแม่นยำสูงความแม่นยำสูงจะทำให้การวินิจฉัยโรคของแพทย์เป็นไปอย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้การรักษาโรคสะดวกและง่ายดายกว่าเดิม
4. เลือกเครื่องวัดความดันโลหิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน เช่น CE (European Conformity:CE) หรือเครื่องหมาย UL (Underwriters’ Laboratories :UL) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเครื่องมือนั้นได้รับการออกแบบและการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามข้อบังคับอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป หรือตรวจสอบได้จากเครื่องหมาย มอก.มาตรฐานประเทศไทย เป็นต้น

คำแนะนำในการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต
  • ไม่ควรวัดความดันทันทีหลังอาหารมื้อหลัก ควรห่างอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่หรือเครื่องก่อนทำการวัด
  • ไม่ควรวัดขณะที่ร่างกายเหนื่อย หมดแรง อ่อนเพลีย หรือมีอารมณ์เครียด
  • ถ้าใช้เครื่องวัดความดันที่ต้นแขน ให้วัดในท่านั่ง วางแขน และข้อศอกบนโต๊ะ จัดระดับให้ผ้าพันต้นแขน หรือผ้าพันข้อมืออยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
  • ถ้าใช้เครื่องวัดความดันที่ข้อมือ ให้วัดในท่านั่ง วางข้อมือให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ

การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตสำหรับใช้ในบ้านถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ เพื่อช่วยในการดูแลสุขภาพและสามารถรักษาได้ทันท่วงทีหากความดันมีความผิดปกตินั่นเองค่ะ

Comments

Popular posts from this blog

รู้ก่อนอันตรายถึงชีวิต 5 สัญญาณอันตราย เสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบ

โรคเส้นเลือดในสมองตีบ  นั้นจัดว่าเป็นภัยเงียบที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากอาการที่มักไม่แสดงออกอย่างเด่นชัด ไม่มีการเจ็บป่วยหรือแสดงอาการล่วงหน้า ซึ่งอันตรายมากในบางรายอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ในทันทีหรือ เป็น "อัมพฤกษ์ - อัมพาต" ได้ ทีนี้เรามาดูสัญญาณอันตรายเสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบกันค่ะ เพื่อจะได้ป้องกันก่อนจะสายเกินแก้ หลอดเลือดในสมองตีบ เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดสมองอย่างหนึ่ง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง สิ่งที่ทำให้เส้นเลือด หรือหลอดเลือดตีบ คือการที่มีลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันในเส้นเลือด หรืออาจจะมีลิ่มเลือดก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดสมอง และขยายใหญ่ขึ้นจนอุดตันเส้นเลือดในสมองหรือทำให้เส้นเลือดในสมองตีบจนเลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก ส่งผลให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก ทำให้ให้เซลล์สมองถูกทำลายเสียหาย อาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตและอาจเสียชีวิตได้ สัญญาณอันตราย เสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที 1. มีอาการชา หรืออ่อนแรงที่ใบหน้า และ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย 2. พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว ขยับปากได้ไม่ปกติ น้ำลายไหล กลืนลำบาก ...

ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ ภัยเงียบเสี่ยงอัมพาต

          โรคที่เกี่ยวกับ หลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่อันตรายและน่ากลัวเป็นอันดับต้นๆ ของคนยุคปัจจุบัน เพราะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้นตามลำดับทั้งที่อยู่ในวัยกลางคนเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากนับรวมบรรดาโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทั้งหลายแล้ว ภาวะ เส้นเลือดสมองตีบ หรือแตกนี้พบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน (รองจากโรคหัวใจ) ดังนั้นวันนี้ไปดูปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคนี้ เพื่อหาทางป้องกันหรือหลีกเลี่ยงกันค่ะ ปัจจัยเสี่ยงเส้นเลือดในสมองตีบ เพศชาย มีความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดในสมองตีบ รวมไปถึงโรคในตระกูลหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้หญิง อายุที่มากขึ้น ทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพลงไปด้วย ผิวชั้นในของผนังหลอดเลือดด้านในอาจจะหนา หรือแข็งขึ้นจากการที่มีไขมัน หรือหินปูนมาเกาะ ทำให้รูในเส้นเลือดแคบลง เลือดก็ไหลเวียนได้น้อยลง   อยู่ในภาวะพบการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ทำให้มีความเสี่ยงของการที่เม็ดเลือดจับตัวกัน หรือเกิดลิ่มเลือดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให...

โอเมก้า 3 และ 6 กรดไขมันจำเป็นที่สำคัญ แต่ร่างกายสร้างเองไม่ได้

กรดไขมันจำเป็น …                 เป็นกรดไขมันที่มนุษย์และสัตว์จะต้องรับเข้าสู่ร่างกายเนื่องจากร่างกายต้องการกรดไขมันเหล่านี้ เพื่อให้มีสุขภาพดี แต่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ ดังนั้นจำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่ทานเพื่อรักษาสุขภาพให้ปกติ ไปทำความรู้จักกับกรดไขมันจำเป็น โอเมก้า 3, โอเมก้า 6 ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากๆและแหล่งของไขมันชนิดนี้กันค่ะ โอเมก้า 3  คือกลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชนิดหนึ่ง เป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก ร่างกายของคนเราขาดโอเมก้า 3 ไม่ได้ แต่กลับไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ฉะนั้นจึงต้องได้รับจากการทานอาหารที่มีปริมาณโอเมก้า 3 แทน แหล่งอาหารที่มีโอเมก้า 3  พบโอเมก้า 3 ได้จากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น ปลาและอาหารทะเล ถั่วและเมล็ดพืช เช่น เมล็ดเจีย เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท เมล็ดฟักทอง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง โยเกิร์ต น้ำผลไม้ นม น้ำนมถั่วเหลือง หรืออาหารทารกบางอย่าง เป็นต้น ---------------------------------------------------------...