Skip to main content

การเตรียมความพร้อมก่อนวัดความดันโลหิตเองที่บ้าน

               ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุหลักอันดับหนึ่งของอัตราการเสียชีวิตทั่วโลก โดยภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคทางหลอดเลือดต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นสามารถป้องกันโรคต่าง ๆได้อย่างทันท้วงที ซึ่งปัจจุบันเราสามารถตรวจวัดความดันได้เองที่บ้านโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาลบ่อยๆแล้ว โดยการใช้เครื่องวัดความดันนั่นเอง ไปดูการเตียมความพร้อมและวิธีใช้เครื่องวัดความดันเองที่บ้านกันค่ะ



การเตรียมความพร้อม
  • การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองอาจต้องทำในที่เงียบ ๆ หากจำเป็นต้องฟังเสียงหัวใจด้วย
  • ควรปัสสาวะให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะการปวดปัสสาวะอาจส่งผลต่อค่าระดับความดันโลหิต
  • หากมีการสูบบุหรี่หรือการดื่มกาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนหน้า ควรนั่งพักก่อนวัดความดันอย่างน้อย 1/2 ชั่วโมง
  • พับแขนเสื้อขึ้น หากสวมเสื้อคลุมแขนยาวรัดแขนควรถอดออกก่อน
  • ทำการวัดความดัน โดยกดปุ่มที่เครื่องเพื่อเริ่มวัดได้ทันที และรอให้แรงดันที่เครื่องคลายตัวลงจนเป็นปกติ
ผลการวัดความดันโลหิต
ระดับความดันโลหิตปกติจะมีค่าตัวเลขบน (ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก) ไม่เกินกว่า 120 และมีค่าตัวเลขล่าง (ความดันโลหิตไดแอสโตลิก) ไม่เกินกว่า 80 เขียนเป็น 120/80 มิลลิเมตรปรอท
  • ความดันโลหิตปกติ คือ 90 - 119 / 60 - 79 มม.ปรอท
  • ความดันโลหิตในผู้มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง คือ 120 - 139 / 80 - 89 มม.ปรอท
  • โรคความดันโลหิตสูงระยะ 1 คือ ความดันโลหิตอยู่ในช่วง 140 - 159 / 90 - 99 มม.ปรอท
  • โรคความดันโลหิตสูงระยะ 2 คือ ความดันโลหิตอยู่ในช่วง ตั้งแต่ 160/100 มม.ปรอทขึ้นไป
  • โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องพบแพทย์ใน 24 ชั่วโมง คือ ความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 180/ 110 มม.ปรอทเป็นต้นไป เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาจจากโรคหัวใจล้มเหลว สมองสูญเสียการทำงาน และ/หรือไตล้มเหลว
  • โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน คือความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 220/140 มม.ปรอทขึ้นไป เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิต (ตาย) ได้ จากการทำงานล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง และไต
สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการอะไร จนกว่าจะเกิดโรคแทรกแล้วการติดตามจึงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ และรักษาได้อย่างทันท้วงทีนะคะ

Comments

Popular posts from this blog

เครื่องมือแพทย์สามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้

               ถ้าพูดถึงยาสามัญประจำบ้านเราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะเป็นยาที่ควรจะมีติดบ้านเพื่อใช้ในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็น  เครื่องมือแพทย์ สามัญประจำบ้าน หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นและมองว่าไกลตัว ไม่ต้องมีติดบ้านก็ได้ แต่จริงๆแล้วก็มีความสำคัญพอๆกับยาสามัญเลยนะคะ ซึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ควรมีติดบ้านก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมาชิกในครอบครัวนั้นด้วย ควรมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ เครื่องชั่งน้ำหนัก  ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อ้วนขึ้น ผอมลง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือควรทานอาหารให้มากขึ้น ปรอทวัดไข้  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งกับบ้านที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กหรือทารก ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีไข้หรือป่าว ไข้สูงระดับที่ต้องพบแพทย์หรือยัง เครื่องวัดความดัน  จำเป็นอย่างมากในบ้านที่มีผู้สูงอายุ เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้...

ความดันต่ำ ความดันสูง ดูยังไงความดันเท่าไรถึงอันตราย

โรคเรื้อรังที่คนไทยเป็นกันมาก และมีแนวโน้มจะเกิดกับวัยทำงานที่อายุน้อยมากขึ้นอย่างโรคความดันโลหิตสูงแล้วโรคความดันโลหิตสูงอันตรายขนาดไหน หรือในบางคนเคยใช้ เครื่องวัดความดัน แล้วผลออกมาว่าความดันต่ำ แล้วความดันโลหิตปกติจะต้องอยู่ที่เท่าไรวันนี้มาหาคำตอบกันค่ะ ความดันปกติควรอยู่ที่เท่าไร ความดันโลหิตปกติ คือ 120/80-139/89 มม.ปรอท แต่ทั้งนี้ค่าความดันโลหิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น อารมณ์ ความเครียด ความตื่นเต้น การออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ ส่งผลให้แรงดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้ความดันเลือดมีค่าเกินกว่าภาวะปกติชั่วคราว  การวัดระดับความดัน สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า การวัดระดับความดันโลหิต นั้นสามารถบ่งบอกได้ว่า ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะใด เป็นการตรวจวัดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นภาวะความดันโลหิตสูง หรือ ภาวะความดันโลหิตต่ำล้วนส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเราทั้งสิ้น เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ มักเกิดจากการที่ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะ ดื่มน้ำน้อย ร่างกายสูญเสียน้ำ หรือเสียเ...