Skip to main content

Posts

Showing posts from February, 2018

การป้องกันการเกิดแผลกดทับ สำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียง

            แผลกดทับ คือ การได้รับบาดเจ็บของผิวหนัง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ และกระดูก เป็นผลจากแรงกด หรือแรงกดร่วมกับแรงเลื่อนไถล ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกกดขาดเลือดไปเลี้ยงจนเกิดเป็นแผล พบบ่อยบริเวณกระดูกก้นกบ กระดูกสะโพก/กระดูกเชิงกราน ตาตุ่ม ใครที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ แผลกดทับสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกวัย ผู้มีปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ผู้สูงอายุที่มีชั้นไขมันใต้ผิวหนังบางลง ผิวหนังเปราะบางฉีกขาดได้ง่าย และบุคคลที่ต้องนอนพักอยู่บนเตียงนานมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย/นอนติดเตียง การป้องกันการเกิดแผลกดทับ 1. การจัดท่านอน ควรเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อลดแรงกดนานเกินไปทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ถ้าเปลี่ยนท่านอนแล้วรอยแดงบริเวณผิวหนังไม่หายภายในประมาณ 30 นาที อาจจะพิจารณาให้เปลี่ยนท่านอนได้บ่อยขึ้น 2. การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด 2.1 ใช้อุปกรณ์เสริมช่วยลดแรงกด เลือกให้เหมาะสมกับสภาพของบุคคลนั้นเช่น ใช้ที่นอนฟองน้ำหรือ ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วย ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเสี่ยง ใช้หมอน ผ้านุ่มๆ หรือเจลรองบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆเพ