แผลกดทับ คือ การได้รับบาดเจ็บของผิวหนัง
เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ และกระดูก เป็นผลจากแรงกด หรือแรงกดร่วมกับแรงเลื่อนไถล
ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกกดขาดเลือดไปเลี้ยงจนเกิดเป็นแผล
พบบ่อยบริเวณกระดูกก้นกบ กระดูกสะโพก/กระดูกเชิงกราน ตาตุ่ม
ใครที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ
แผลกดทับสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกวัย
ผู้มีปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ผู้สูงอายุที่มีชั้นไขมันใต้ผิวหนังบางลง
ผิวหนังเปราะบางฉีกขาดได้ง่าย
และบุคคลที่ต้องนอนพักอยู่บนเตียงนานมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย/นอนติดเตียง
การป้องกันการเกิดแผลกดทับ
1. การจัดท่านอน ควรเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อลดแรงกดนานเกินไปทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น
ถ้าเปลี่ยนท่านอนแล้วรอยแดงบริเวณผิวหนังไม่หายภายในประมาณ 30 นาที
อาจจะพิจารณาให้เปลี่ยนท่านอนได้บ่อยขึ้น
2. การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด
2.1 ใช้อุปกรณ์เสริมช่วยลดแรงกด
เลือกให้เหมาะสมกับสภาพของบุคคลนั้นเช่น ใช้ที่นอนฟองน้ำหรือที่นอนลมสำหรับผู้ป่วย
ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเสี่ยง ใช้หมอน ผ้านุ่มๆ
หรือเจลรองบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆเพื่อลดแรงกดบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆของร่างกายเช่น
หัวไหล่ ใบหู ข้อศอก ข้อมือ ส้นเท้า
2.2 ลดแรงเสียดทาน
การเคลื่อนย้ายหรือเลื่อนตัวผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ
ใช้การยกตัวแทนการดึงลากตัว ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนย้ายเช่น ผ้ายกตัว
แผ่นรองตัว
3. การดูแลผิวหนัง
3.1 ผู้ป่วยที่มีผิวหนังแห้ง
ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่น หลังทำความสะอาดร่างกายควรทาโลชั่น 3-4 ครั้ง / วัน
เพื่อป้องกันผิวหนังแตกแห้ง
3.2 ผู้ป่วยที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
ควรทำความสะอาดทุกครั้ง ที่มีการขับถ่าย และซับให้แห้งอย่างเบามือ
ทาวาสลีน หรือ Zinc paste ให้หนาบริเวณผิวหนังรอบๆทวารหนัก
แก้มก้นทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันผิวหนังเปียกชื้น
4. อาหารการกิน การดูแลให้ร่างกายได้รับอาหารครบตามหลักโภชนาการ
(อาหารมีประ โยชน์ 5 หมู่) โดยเฉพาะโปรตีน วิตามินซี
และดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้ว จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
ผิวหนังยืดหยุ่นค่ะ
นอกจากนี้เราควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเท่าที่สามารถจะทำได้
เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
และควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยลงจากเตียงหรือที่นอนบ้างก็สามารถช่วยเรื่องการไหลเวียนเลือดเช่นกัน
แต่หากแผลกดทับลุกลามเพิ่มขึ้นหรือมีสัญญาณของการติดเชื้อ
ควรรีบมาพบแพทย์/มาโรงพยาบาลเพื่อแพทย์พยาบาลให้การรักษาดูแลที่เหมาะสมต่อไปนะคะ
Comments
Post a Comment