Skip to main content

วัยทำงานควรระวัง 4 ปัจจัยเสี่ยง หลอดเลือดในสมองตีบ

การมีสุขภาพที่ดีเป็นเรื่องสำคัญ และการจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้นต้องเริ่มต้นจากการดูแลตัวเองโดยเฉพาะคนวัยทำงานที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเอง และมักหลงลืมเรื่องสุขภาพ อาการหลอดเลือดสมองตีบนั้นจึงถือเป็นภัยเงียบของคนวัยทำงาน ความน่ากลัวของโรคนี้คือ หลายคนไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้ามาก่อนเลย แถมยังเป็นได้ทุกเพศทุกวัยไม่เกี่ยงว่าจะต้องเป็นคนสูงอายุเท่านั้น ทีนี้เรามาดูปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองกันค่ะ



1. ไม่ค่อยออกกำลังกาย
อย่างที่เรารู้กันดีอยู่การออกกำลังกายนั้นจะช่วยลดไขมันที่ไม่ดีในร่างกายเรา การที่เราไม่ออกกำลังกาย จะทำให้เสี่ยงต่อโรคนี้เพราะไขมันที่เกาะสะสมอยู่ตามผนังของเส้นเลือด ทำให้เป็นอุปสรรคกีดขวางการลำเลียงเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย รวมถึงสมองด้วย

2. สูบบุหรี่จัด
คนวัยทำงานมักจะบอกว่าการสูบบุหรี่จะช่วยทำให้คลายเครียดได้ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ในบุหรี่มีสารนิโคตินและคาร์บอน ทำให้ประมาณออกซิเจนที่ร่างกายได้รับลดลง และยังเป็นตัวที่ทำลายผนังของหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการแข็งตัว มีการค้นพบว่าสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวก็ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 3.5%

3. รีบกินแต่ไม่เลือกกิน
การที่เราทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์บ่อยครั้งเพื่อความสะดวกรวดเร็ว หรือใช้ความอร่อยเป็นเครื่องมือคลายเครียดโดยไม่ได้เลือกว่าอาหารที่กินเข้าไปนั้นดีหรือไม่ดีต่อร่างกาย สิ่งที่ตามมาก็คือ โรคอ้วน บ่อเกิดของโรคต่างๆร วมไปถึงโรคความดันโลหิตสูง และเจ้าความดันโลหิตสูงนี่เองที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติหลายเท่าตัวเลยทีเดียว

4. เครียด ไม่พักผ่อน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนต้องทำงานเพื่อหารายได้มาเลี้ยงดูตัวเอง ครอบครัว และคนที่รัก กลายเป็นแรงผลักให้เราต้องทุ่มเทกับงานจนไม่มีเวลาเหลือมาดูแลตัวเอง สมองคิดแต่เรื่องงาน ชีวิตเต็มไปด้วยความเครียด แถมยังหามรุ่งหามค่ำจนไม่ได้พักผ่อน เวลานอนแทบไม่มี ร่างกายย่อมอ่อนแอและยังส่งผลต่อความดันโลหิตสูงเช่นกัน

โรคเส้นเลือดในสมองตีบนั้นตรวจสอบพฤติกรรมการใช้ชีวิตอยู่ตลอดเวลา ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารรสจัดเช่นเค็มเป็นหลัก ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก เวียนศีรษะ มองเห้นภาพซ้อน ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุดด้วยนะคะ


แหล่งที่มา manulife.co.th/4-risk-factors-for-stroke-symptoms/

Comments

Popular posts from this blog

เครื่องมือแพทย์สามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้

               ถ้าพูดถึงยาสามัญประจำบ้านเราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะเป็นยาที่ควรจะมีติดบ้านเพื่อใช้ในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็น  เครื่องมือแพทย์ สามัญประจำบ้าน หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นและมองว่าไกลตัว ไม่ต้องมีติดบ้านก็ได้ แต่จริงๆแล้วก็มีความสำคัญพอๆกับยาสามัญเลยนะคะ ซึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ควรมีติดบ้านก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมาชิกในครอบครัวนั้นด้วย ควรมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ เครื่องชั่งน้ำหนัก  ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อ้วนขึ้น ผอมลง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือควรทานอาหารให้มากขึ้น ปรอทวัดไข้  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งกับบ้านที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กหรือทารก ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีไข้หรือป่าว ไข้สูงระดับที่ต้องพบแพทย์หรือยัง เครื่องวัดความดัน  จำเป็นอย่างมากในบ้านที่มีผู้สูงอายุ เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ เครื่อง

ความดันต่ำ ความดันสูง ดูยังไงความดันเท่าไรถึงอันตราย

โรคเรื้อรังที่คนไทยเป็นกันมาก และมีแนวโน้มจะเกิดกับวัยทำงานที่อายุน้อยมากขึ้นอย่างโรคความดันโลหิตสูงแล้วโรคความดันโลหิตสูงอันตรายขนาดไหน หรือในบางคนเคยใช้ เครื่องวัดความดัน แล้วผลออกมาว่าความดันต่ำ แล้วความดันโลหิตปกติจะต้องอยู่ที่เท่าไรวันนี้มาหาคำตอบกันค่ะ ความดันปกติควรอยู่ที่เท่าไร ความดันโลหิตปกติ คือ 120/80-139/89 มม.ปรอท แต่ทั้งนี้ค่าความดันโลหิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น อารมณ์ ความเครียด ความตื่นเต้น การออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ ส่งผลให้แรงดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้ความดันเลือดมีค่าเกินกว่าภาวะปกติชั่วคราว  การวัดระดับความดัน สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า การวัดระดับความดันโลหิต นั้นสามารถบ่งบอกได้ว่า ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะใด เป็นการตรวจวัดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นภาวะความดันโลหิตสูง หรือ ภาวะความดันโลหิตต่ำล้วนส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเราทั้งสิ้น เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ มักเกิดจากการที่ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะ ดื่มน้ำน้อย ร่างกายสูญเสียน้ำ หรือเสียเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง ว่าสูงหรือผิดปกติหรือเปล่า

              ส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดูแลรักษาโรคเบาหวานนั่นก็คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในร่างกายสูงจนเกินไป มีสองวิธีในการวัดระดับน้ำตาลในเลือดนั่นก็คือการใช้ เครื่องมือแพทย์  เครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้าน และวิธีที่สองก้คือการตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) การตรวจนี้จะต้องทำการตรวจที่สถานพยาบาล ซึ่งจะช่วยบอกระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา วันนี้มาพูดถึงการใช้เครื่องวัดน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้านกันค่ะ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองได้อย่างไร การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด้วยตนเองจะใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลขนาดเล็กพกพาได้ ซึ่งจะใช้เลือกปริมาณเล็กน้อยจากการเจาะปลายนิ้วมือ คุณสามารถหาซื้อเครื่องมือแพทย์นี้ ในตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองและอุปกรณ์ต่างๆ จากร้านขายยาและให้จดบันทึกวัน เวลา และค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจวัดได้ไว้เสมอ และนำผลการตรวจที่จดบันทึกนี้ไปให้แพทย์ดูทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ ระดับน้ำตาลที่ถือว่าปกตินั้น ทั่วไปแพทย์จะแนะนำค่าเป้าหมายดังนี้ ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร: 80 – 1