แผลกดทับ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญในผู้ป่วยอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียงหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เพราะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยซ้ำเติมแหละมีอาการหนักขึ้น อีกทั้งการดูแลรักษายังทำให้ต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย การเลือกใช้ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วย จึงช่วยลดโอกาสหรือความรุนแรงอาการแผลกดทับได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีดูแลรักษาตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าวอีกค่ะ
การป้องกันการเกิดแผลกดทับ
การเปลี่ยนและจัดท่าผู้ป่วย โดยตามลักษณะของผู้ป่วย โดยยึดเอาความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ได้แก่
1) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และนอนบนเตียง ควรปรับเปลี่ยนท่านอนใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง
2) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และนั่งบนรถเข็น ควรปรับเปลี่ยนท่านั่งใหม่ทุก ๆ 1 ชั่วโมง
3) ผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดีและสามารถช่วยเหลือตนเองได้บ้าง ควรช่วยผู้ป่วยขยับเปลี่ยนท่าด้วยตนเองทุก 15 นาที
นอกจากนี้แล้ว ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมาก อาจพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับเสริมได้ เช่นแผ่นโฟมลดแรงกดทับ ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งอาจช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับได้ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดและกระจายแรงกดทับโดยใช้แรงปั๊มลมจากเครื่องปั๊มไฟฟ้า ปั๊มทำงานแบบสลับกับการยุบพองของที่นอนลมต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติเป็นจังหวะ ทำให้ร่างกายไม่ถูกกดทับบริเวณใดบริเวณหนึ่งนาน ๆ จึงช่วยลดโอกาสการเกิดหรือช่วยลดความรุนแรงของแผลกดทับได้
การดูแลที่เหมาะสมตามระดับของแผล ป้องกันไม่ให้แผลลุกลามมากขึ้น การลดแรงกดทับที่เหมาะสม รวมทั้งการดูแลเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆจะทำให้อาการของแผลกดทับเป็นไปในทางที่ดีได้นะคะ
Comments
Post a Comment