Skip to main content

ตัวช่วยดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียง “ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วย”

แผลกดทับเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง ผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะเป็นรอยแดงและรอยแตกลายของผิวหนัง อาจเกิดการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อ ซึ่งหากทิ้งไว้ไม่รักษาจะเกิดเป็นแผลและติดเชื้อได้


อย่างไรก็ดี แผลกดทับยังเป็นสิ่งที่ป้องกันหรือลดความรุนแรงลงได้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีนับตั้งแต่การดูแลพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง การจัดท่านอนที่เหมาะสม การดูแลผิวหนังอย่างสม่ำเสมอ การดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ และการใช้อุปกรณ์ที่ช่วยเช่น ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วย



ประโยชน์ของที่นอนลม


1. ป้องกันแผลกดทับ
ที่นอนลมเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ต่างจากที่นอนทั่วไป ถูกออกแบบให้เกิดความสมดุลเวลานอน ผิวหนังจะไม่ถูกกดทับเฉพาะจุด ด้วยความนุ่มของที่นอน และความยืดหยุ่น ทำให้สามารถป้องกันแผลกดทับได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ผลิกตัวไปมาลำบาก ก็ช่วยให้นอนสบายมากขึ้น ไม่เจ็บและทรมารจากแผลกดทับ

2. ผู้ป่วยนอนหลับสบายมากขึ้น
เมื่อผิวหนังของเราถูกกดทับ หรือระบายอากาศออกไปไม่ได้ ก็จะเกิดอาการแผลกดทับ ซึ่งที่นอนลม สามารถช่วยให้ถ่ายเทอากาศได้ตลอดเวลา ทำให้คนไข้หรือผู้ป่วยติดเตียง นอนหลับสบายมากขึ้น

3. หาซื้อได้ง่ายตามร้านทั่วไป
ปัจจุบันที่นอนลมรังผึ้ง ที่นอนลมแบลอนมีจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ทั่วไป สามารถหาซื้อข้างบ้านได้สะดวก แต่ควรเลือกร้านที่ขายอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานเท่านั้น ไม่ควรซื้อในราคาที่ต่ำเกินจริง เพราะอาจจะได้สินค้าที่เสียหายได้ง่าย เพราะไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน

4. เคลื่อนย้ายและดูแลรักษาได้ง่าย
เป็นที่นอนลมที่มีน้ำมันเบามาก รองรับน้ำหนักได้กว่าร้อยกิโลกรัม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศให้กับผู้ป่วยติดเตียง และยังดูแลรักษาได้ง่าย


ดังนั้นใครที่มีคนในครอบครัวที่ป่วยนอนติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ที่นอนลมก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่คุณรัก ป้องกันง่ายๆด้วยที่นอนลมสำหรับผู้ป่วยนะคะ

Comments

Popular posts from this blog

เครื่องมือแพทย์สามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้

               ถ้าพูดถึงยาสามัญประจำบ้านเราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะเป็นยาที่ควรจะมีติดบ้านเพื่อใช้ในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็น  เครื่องมือแพทย์ สามัญประจำบ้าน หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นและมองว่าไกลตัว ไม่ต้องมีติดบ้านก็ได้ แต่จริงๆแล้วก็มีความสำคัญพอๆกับยาสามัญเลยนะคะ ซึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ควรมีติดบ้านก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมาชิกในครอบครัวนั้นด้วย ควรมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ เครื่องชั่งน้ำหนัก  ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อ้วนขึ้น ผอมลง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือควรทานอาหารให้มากขึ้น ปรอทวัดไข้  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งกับบ้านที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กหรือทารก ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีไข้หรือป่าว ไข้สูงระดับที่ต้องพบแพทย์หรือยัง เครื่องวัดความดัน  จำเป็นอย่างมากในบ้านที่มีผู้สูงอายุ เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ เครื่อง

ความดันต่ำ ความดันสูง ดูยังไงความดันเท่าไรถึงอันตราย

โรคเรื้อรังที่คนไทยเป็นกันมาก และมีแนวโน้มจะเกิดกับวัยทำงานที่อายุน้อยมากขึ้นอย่างโรคความดันโลหิตสูงแล้วโรคความดันโลหิตสูงอันตรายขนาดไหน หรือในบางคนเคยใช้ เครื่องวัดความดัน แล้วผลออกมาว่าความดันต่ำ แล้วความดันโลหิตปกติจะต้องอยู่ที่เท่าไรวันนี้มาหาคำตอบกันค่ะ ความดันปกติควรอยู่ที่เท่าไร ความดันโลหิตปกติ คือ 120/80-139/89 มม.ปรอท แต่ทั้งนี้ค่าความดันโลหิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น อารมณ์ ความเครียด ความตื่นเต้น การออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ ส่งผลให้แรงดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้ความดันเลือดมีค่าเกินกว่าภาวะปกติชั่วคราว  การวัดระดับความดัน สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า การวัดระดับความดันโลหิต นั้นสามารถบ่งบอกได้ว่า ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะใด เป็นการตรวจวัดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นภาวะความดันโลหิตสูง หรือ ภาวะความดันโลหิตต่ำล้วนส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเราทั้งสิ้น เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ มักเกิดจากการที่ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะ ดื่มน้ำน้อย ร่างกายสูญเสียน้ำ หรือเสียเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง ว่าสูงหรือผิดปกติหรือเปล่า

              ส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดูแลรักษาโรคเบาหวานนั่นก็คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในร่างกายสูงจนเกินไป มีสองวิธีในการวัดระดับน้ำตาลในเลือดนั่นก็คือการใช้ เครื่องมือแพทย์  เครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้าน และวิธีที่สองก้คือการตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) การตรวจนี้จะต้องทำการตรวจที่สถานพยาบาล ซึ่งจะช่วยบอกระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา วันนี้มาพูดถึงการใช้เครื่องวัดน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้านกันค่ะ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองได้อย่างไร การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด้วยตนเองจะใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลขนาดเล็กพกพาได้ ซึ่งจะใช้เลือกปริมาณเล็กน้อยจากการเจาะปลายนิ้วมือ คุณสามารถหาซื้อเครื่องมือแพทย์นี้ ในตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองและอุปกรณ์ต่างๆ จากร้านขายยาและให้จดบันทึกวัน เวลา และค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจวัดได้ไว้เสมอ และนำผลการตรวจที่จดบันทึกนี้ไปให้แพทย์ดูทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ ระดับน้ำตาลที่ถือว่าปกตินั้น ทั่วไปแพทย์จะแนะนำค่าเป้าหมายดังนี้ ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร: 80 – 1