เครื่องมือแพทย์ มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด ทั้งแบบที่ใช้ง่ายสามารภหาซื้อได้เอง ไปจนถึงเครื่องมือแพทย์ที่มีขั้นตอนการใช้ที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ใช้โดยต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในการใช้งานอย่างถูกต้อง วันนี้เราจะมาพูดถึงประเภทของเครื่องมือแพทย์และหลักการใช้อย่างปลอดภัยกันค่ะ
เครื่องมือแพทย์นั้นแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
- อุปกรณ์ผ่าตัด และอุปกรณ์การแพทย์ เช่น มีดผ่าตัด กรรไกรผ่าตัด เครื่องวัดความดัน ปรอท วัดไข้ เป็นต้น
- บริภัณฑ์การแพทย์ เช่น เครื่องเอกซเรย์ เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องสลายนิ่ว เป็นต้น
- วัสดุการแพทย์และวัสดุฝังในทางศัลยกรรม เช่น ถุงมือยางทางการแพทย์ ผ้าก๊อซ ซิลิโคน (Silicone)
- เครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง เช่น ชุดน้ำยาตรวจการติดเชื้อ เอชไอวี (HIV) ชุดตรวจ น้ำตาล ในปัสสาวะ เครื่องมือทันตกรรม เป็นต้น
อันตรายจากเครื่องมือแพทย์ มีดังนี้
เครื่องมือแพทย์ไม่มีประสิทธิภาพหรือความแม่นยำเพียงพอ อาจทำให้การวินิจฉัยผิดพลาดได้ เช่น หากชุดผลิตภัณฑ์ในการตรวจวินิจฉัยโรคเอดส์ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะตรวจวินิจฉัยเลือดที่ได้รับบริจาคว่ามีเชื้อ เอชไอวี หรือไม่ โดยอาจตรวจไม่พบแต่เลือดที่ได้รับบริจาคมีเชื้ออยู่ ก็ทำให้ผู้รับ บริจาคเลือดติดเชื้อไปด้วย
เครื่องมือแพทย์ไม่ปลอดภัยในการใช้ เช่น ถุงซิลิโคนเสริมทรวงอก อาจเกิดการแตกขณะที่ยังอยู่ในร่างกาย ซึ่งซิลิโคนจะทำให้เกิดพังพืดขึ้นทำให้เป็นอันตรายได้
เครื่องมือแพทย์ที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ เช่น เครี่องเอ็กซเรย์ยังใช้ในการวินิจฉัยโรคนั้น หากผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีเอ็กซ์บ่อยครั้ง ก็อาจทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งได้
เครื่องมือแพทย์บางชนิด มีสารห้ามใช้ หรือข้อควรระวังในการใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะบางอย่าง เช่น เครื่องมือทางทันตกรรม ประเภทเครื่องขูดหินปูน จะไม่ใช้กับผู้ป่วยที่มีการติดตั้งเครื่องช่วยการเต้น ของหัวใจ (Pacemaker) เนื่องจากการทำงานของเครื่องขูดหินปูนจะรบกวนการทำงานของเครื่องดังกล่าว
ปัจจุบันมีเครื่องมือแพทย์ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป หากต้องการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์มาใช้เอง ควรศึกษาวิธีใช้ที่ถูกต้อง และทำความเข้าใจกับผลิตภัณฑ์นั้นให้ระเอียดก่อนซื้อด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานและคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
Comments
Post a Comment