Skip to main content

ทำรู้จักกับเครื่องมือแพทย์ สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ


        

              สำหรับผู้สูงอายุในวัย 60 ปีขึ้นไป อาจใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่คล่องตัวเหมือนเดิม เพราะร่างกายเริ่มเกิดความเสื่อมตามวัย จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคนในครอบครัว ซึ่งก็ต้องพึ่งเครื่องมือแพทย์เข้ามาช่วยในการดูแล หรือสังเกตุอาการผิดปกติต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพและติดตามอาการป่วยต่างๆได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเครื่องมือแพทย์สำหรับผู้สูงอายุที่พบเห็นได้บ่อยๆมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

เครื่องวัดความดัน
การติดตามการทำงานของความดันเลือด เรียกได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุสมัยนี้อย่างมาก เพราะสภาพร่างกายที่มีความดันเลือดที่สูงมีผลต่อการทำงานของหัวใจ ตับไต และอวัยวะภายในต่างๆ เป็นสาเหตุตามมาของโรคร้ายที่จะตามมา ซึ่งเป็นอันตรายได้ แนะนำให้เลือกเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล เพราะสดวกแก่การใช้งาน พกพาได้ แสดงผลเป็นตัวเลขง่ายต่อการใช้งานค่ะ

เครื่องตรวจน้ำตาล
ผู้สูงอายุบางท่านมีความจำเป็นต้องเจาะเลือดที่บ้านวันละ 2-3 ครั้ง สัปดาห์ละ 2-3 วัน เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เพราะการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดมีความสำคัญต่อการติดตามและควบคุมอาการของผู้ป่วยเบาหวาน เพราะภาวะน้ำตาลในเลือดผิดปกติเป็นภาวะที่ร้ายแรง หากรักษาไม่ทันอาจเป็นอันตรายได้

ปรอทวัดไข้
ปรอทวัดไข้เป็นอุปกรณ์วัดไข้ที่ช่วยตรวจดูร่างกายว่าเป็นไข้จริงหรือไม่ โดยปกติแล้วอุณหภูมิภายในในร่างกายของคนเรา 37.5 องศาเซลเซียส หากใช้ปรอทวัดไข้แล้วอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 -38 องศาเซลเซียสแสดงว่าเป็นไข้แล้ว ให้รีบดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้องเหมาะสม และพาไปพบแพทย์ได้อย่างทันท่วงที

อุปกรณ์สำหรับช่วยพยุงเดิน
มีทั้งแบบ “ไม้เท้าช่วยพยุงเดิน” และ “รถเข็นช่วยเดิน” ที่มีล้อในตัว อุปกรณ์ทั้งสองรูปแบบมีประโยชน์ใช้สอยเหมือนกัน คือช่วยพยุงรับน้ำหนักตัวของผู้สูงอายุ เป็นตัวช่วยให้เดินได้คล่องกว่า ลดการเกิดอุบัติเหตุ หกล้มบาดเจ็บ


หากจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุ ควรเลือกซื้อหรือขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง เหมาะสมกับอาการ สภาวะที่ผู้สูงอายุเป็น และหมั่นตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนใช้งาน เพื่อช่วยดูแลสุขภาพและสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที  เมื่อดูแลสุขภาพร่างกายแล้วอย่าลืมดูแลสุขภาพจิตของท่านด้วยการชวนพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ หากิจกรรมที่สามารถทำด้วยกันได้ด้วยนะคะ

Comments

Popular posts from this blog

เครื่องมือแพทย์สามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้

               ถ้าพูดถึงยาสามัญประจำบ้านเราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะเป็นยาที่ควรจะมีติดบ้านเพื่อใช้ในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็น  เครื่องมือแพทย์ สามัญประจำบ้าน หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นและมองว่าไกลตัว ไม่ต้องมีติดบ้านก็ได้ แต่จริงๆแล้วก็มีความสำคัญพอๆกับยาสามัญเลยนะคะ ซึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ควรมีติดบ้านก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมาชิกในครอบครัวนั้นด้วย ควรมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ เครื่องชั่งน้ำหนัก  ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อ้วนขึ้น ผอมลง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือควรทานอาหารให้มากขึ้น ปรอทวัดไข้  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งกับบ้านที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กหรือทารก ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีไข้หรือป่าว ไข้สูงระดับที่ต้องพบแพทย์หรือยัง เครื่องวัดความดัน  จำเป็นอย่างมากในบ้านที่มีผู้สูงอายุ เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ เครื่อง

ความดันต่ำ ความดันสูง ดูยังไงความดันเท่าไรถึงอันตราย

โรคเรื้อรังที่คนไทยเป็นกันมาก และมีแนวโน้มจะเกิดกับวัยทำงานที่อายุน้อยมากขึ้นอย่างโรคความดันโลหิตสูงแล้วโรคความดันโลหิตสูงอันตรายขนาดไหน หรือในบางคนเคยใช้ เครื่องวัดความดัน แล้วผลออกมาว่าความดันต่ำ แล้วความดันโลหิตปกติจะต้องอยู่ที่เท่าไรวันนี้มาหาคำตอบกันค่ะ ความดันปกติควรอยู่ที่เท่าไร ความดันโลหิตปกติ คือ 120/80-139/89 มม.ปรอท แต่ทั้งนี้ค่าความดันโลหิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น อารมณ์ ความเครียด ความตื่นเต้น การออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ ส่งผลให้แรงดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้ความดันเลือดมีค่าเกินกว่าภาวะปกติชั่วคราว  การวัดระดับความดัน สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า การวัดระดับความดันโลหิต นั้นสามารถบ่งบอกได้ว่า ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะใด เป็นการตรวจวัดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นภาวะความดันโลหิตสูง หรือ ภาวะความดันโลหิตต่ำล้วนส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเราทั้งสิ้น เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ มักเกิดจากการที่ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะ ดื่มน้ำน้อย ร่างกายสูญเสียน้ำ หรือเสียเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง ว่าสูงหรือผิดปกติหรือเปล่า

              ส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดูแลรักษาโรคเบาหวานนั่นก็คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในร่างกายสูงจนเกินไป มีสองวิธีในการวัดระดับน้ำตาลในเลือดนั่นก็คือการใช้ เครื่องมือแพทย์  เครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้าน และวิธีที่สองก้คือการตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) การตรวจนี้จะต้องทำการตรวจที่สถานพยาบาล ซึ่งจะช่วยบอกระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา วันนี้มาพูดถึงการใช้เครื่องวัดน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้านกันค่ะ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองได้อย่างไร การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด้วยตนเองจะใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลขนาดเล็กพกพาได้ ซึ่งจะใช้เลือกปริมาณเล็กน้อยจากการเจาะปลายนิ้วมือ คุณสามารถหาซื้อเครื่องมือแพทย์นี้ ในตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองและอุปกรณ์ต่างๆ จากร้านขายยาและให้จดบันทึกวัน เวลา และค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจวัดได้ไว้เสมอ และนำผลการตรวจที่จดบันทึกนี้ไปให้แพทย์ดูทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ ระดับน้ำตาลที่ถือว่าปกตินั้น ทั่วไปแพทย์จะแนะนำค่าเป้าหมายดังนี้ ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร: 80 – 1