Skip to main content

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง ว่าสูงหรือผิดปกติหรือเปล่า

              ส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดูแลรักษาโรคเบาหวานนั่นก็คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในร่างกายสูงจนเกินไป มีสองวิธีในการวัดระดับน้ำตาลในเลือดนั่นก็คือการใช้เครื่องมือแพทย์ เครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้าน และวิธีที่สองก้คือการตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) การตรวจนี้จะต้องทำการตรวจที่สถานพยาบาล ซึ่งจะช่วยบอกระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา วันนี้มาพูดถึงการใช้เครื่องวัดน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้านกันค่ะ


ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองได้อย่างไร

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด้วยตนเองจะใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลขนาดเล็กพกพาได้ ซึ่งจะใช้เลือกปริมาณเล็กน้อยจากการเจาะปลายนิ้วมือ คุณสามารถหาซื้อเครื่องมือแพทย์นี้ ในตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองและอุปกรณ์ต่างๆ จากร้านขายยาและให้จดบันทึกวัน เวลา และค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจวัดได้ไว้เสมอ และนำผลการตรวจที่จดบันทึกนี้ไปให้แพทย์ดูทุกครั้งที่ไปพบแพทย์
ระดับน้ำตาลที่ถือว่าปกตินั้น ทั่วไปแพทย์จะแนะนำค่าเป้าหมายดังนี้
  • ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร: 80 – 130
  • ระดับน้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมง: ต่ำกว่า 180

ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปควรทำอย่างไร

หากตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองแล้วพบว่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดสำหรับคุณหรือสูงกว่า 180 นั่นหมายถึงมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง วิธีหนึ่งในการลดระดับน้ำตาลก็คือการดื่มน้ำแก้วใหญ่ และออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว  ให้ปรึกษาแพทย์หรือทีมแพทย์ที่ดูแลคุณหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า  3 ครั้งในช่วง 2 สัปดาห์  โดยไม่ทราบสาเหตุ

ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน : โดยทั่วไปเวลาที่แนะนำให้ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดคือ เมื่อตื่นนอน, ก่อนอาหาร, หลังอาหาร 2 ชั่วโมง และก่อนนอน  แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเอง

แหล่งที่มา www.honestdocs.com

Comments

Popular posts from this blog

เครื่องมือแพทย์สามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้

               ถ้าพูดถึงยาสามัญประจำบ้านเราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะเป็นยาที่ควรจะมีติดบ้านเพื่อใช้ในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็น  เครื่องมือแพทย์ สามัญประจำบ้าน หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นและมองว่าไกลตัว ไม่ต้องมีติดบ้านก็ได้ แต่จริงๆแล้วก็มีความสำคัญพอๆกับยาสามัญเลยนะคะ ซึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ควรมีติดบ้านก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมาชิกในครอบครัวนั้นด้วย ควรมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ เครื่องชั่งน้ำหนัก  ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อ้วนขึ้น ผอมลง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือควรทานอาหารให้มากขึ้น ปรอทวัดไข้  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งกับบ้านที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กหรือทารก ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีไข้หรือป่าว ไข้สูงระดับที่ต้องพบแพทย์หรือยัง เครื่องวัดความดัน  จำเป็นอย่างมากในบ้านที่มีผู้สูงอายุ เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ เครื่อง

ทำความรู้จักกับประเภทของเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้ และอันตรายจากเครื่องมือแพทย์

              เครื่องมือแพทย์  มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด ทั้งแบบที่ใช้ง่ายสามารภหาซื้อได้เอง ไปจนถึงเครื่องมือแพทย์ที่มีขั้นตอนการใช้ที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ใช้โดยต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในการใช้งานอย่างถูกต้อง วันนี้เราจะมาพูดถึงประเภทของเครื่องมือแพทย์และหลักการใช้อย่างปลอดภัยกันค่ะ เครื่องมือแพทย์นั้นแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ อุปกรณ์ผ่าตัด และอุปกรณ์การแพทย์ เช่น มีดผ่าตัด กรรไกรผ่าตัด เครื่องวัดความดัน ปรอท วัดไข้ เป็นต้น บริภัณฑ์การแพทย์ เช่น เครื่องเอกซเรย์ เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องสลายนิ่ว เป็นต้น วัสดุการแพทย์และวัสดุฝังในทางศัลยกรรม เช่น ถุงมือยางทางการแพทย์ ผ้าก๊อซ ซิลิโคน (Silicone) เครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง เช่น ชุดน้ำยาตรวจการติดเชื้อ เอชไอวี (HIV) ชุดตรวจ น้ำตาล ในปัสสาวะ เครื่องมือทันตกรรม เป็นต้น อันตรายจากเครื่องมือแพทย์ มีดังนี้            เครื่องมือแพทย์ไม่มีประสิทธิภาพหรือความแม่นยำเพียงพอ อาจทำให้การวินิจฉัยผิดพลาดได้ เช่น หากชุดผลิตภัณฑ์ในการตรวจวินิจฉัยโรคเอดส์ ไม่มีประสิทธิภาพเพี