Skip to main content

คู่มือโรคความดันโลหิตสูง อาการ, การรักษา ในผู้สูงอายุ

            โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะมีความดันโลหิต วัดได้สูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตร –ปรอท ขึ้นไป ทั้งนี้ความดันโลหิตปกติ คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท เป้นโรคที่พบได้เยอะในผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปและพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยให้ความดันโลหิตสูงเป้นเวลานานๆ จะทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ ตามมา เช่น สมอง ประสาทตา หัวใจ ไต หลอดเลือดแดงใหญ่ และหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรจะมีเครื่องวัดความดัน ติดบ้านไว้เพื่อที่จะสามารถตรวจเช็คความดันโลหิตของตัวเองได้ตลอดเวลานั่นเองค่ะ



อาการความดันโลหิตสูง
  • มีส่วนน้อยที่อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ ซึ่งมักจะเป็นตอนตื่นนอนใหม่ ๆ พอตอนสายอาการจะทุเลาไปเอง
  • บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ แบบไมเกรน
  • ส่วนในรายที่เป็นมานาน ๆ หรือมีความดันโลหิตสูงมาก ๆ อาจจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ ตามัว มือเท้าชา หรือมีเลือดกำเดาไหล
  • หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา อาจแสดงอาการของภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น หอบเหนื่อบ เจ็บหน้าอก บวม แขนขาเป็นอัมพาต เป็นต้น

รักษาโรคความดันโลหิตสูง

แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง คือ การให้ยาลดความดันโลหิต การรักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงและเป็นสาเหตุ การรักษาและป้องกันผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง และการรักษาประคับประคองตามอาการ การดูแล รักษา ควบคุมโรคได้ไม่ดี ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมักรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง ซึ่งส่งผลถึงความพิการและเสียชีวิตได้ นอกจากนั้นคือ โรคหลอดเลือดของจอตา และของประสาทตาซึ่งอาจส่งผลให้ตาบอดได้

การแบ่งระดับความดันโลหิตสูง โดยปกติคนทั่วไปหากมีค่าความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 mm.Hg ขึ้นไปจะถือว่าเป็นผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงซึ่งแบ่งตามระดับความดันโลหิตที่สูงเกินกว่าระดับปกติ(ความรุนแรง) ที่สามารถแบ่งเป็นช่วงๆได้ดังนี้คือ
  • ระดับความดันโลหิต 120-139/80-89 mm.Hg คือคนที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ระดับความดันโลหิต 140-159/90-99 mm.Hg คือคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
  • ระดับความดันโลหิต ตั้งแต่ 160/100 mm.Hg ขึ้นไปคือคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 2
สำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูงกว่านี้คือตั้งแต่ 180/110 mm.Hg ขึ้นไปต้องรีบไปพบแพทย์ภายใน 24 ชม.และสำหรับคนที่มีความดันตั้งแต่ 220/140 mm.Hg ขึ้นไปต้องรีบไปพบแพทย์ทันที(ฉุกเฉิน)โดยทันทีนะคะ

Comments

Popular posts from this blog

เครื่องมือแพทย์สามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้

               ถ้าพูดถึงยาสามัญประจำบ้านเราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะเป็นยาที่ควรจะมีติดบ้านเพื่อใช้ในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็น  เครื่องมือแพทย์ สามัญประจำบ้าน หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นและมองว่าไกลตัว ไม่ต้องมีติดบ้านก็ได้ แต่จริงๆแล้วก็มีความสำคัญพอๆกับยาสามัญเลยนะคะ ซึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ควรมีติดบ้านก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมาชิกในครอบครัวนั้นด้วย ควรมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ เครื่องชั่งน้ำหนัก  ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อ้วนขึ้น ผอมลง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือควรทานอาหารให้มากขึ้น ปรอทวัดไข้  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งกับบ้านที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กหรือทารก ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีไข้หรือป่าว ไข้สูงระดับที่ต้องพบแพทย์หรือยัง เครื่องวัดความดัน  จำเป็นอย่างมากในบ้านที่มีผู้สูงอายุ เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ เครื่อง

ความดันต่ำ ความดันสูง ดูยังไงความดันเท่าไรถึงอันตราย

โรคเรื้อรังที่คนไทยเป็นกันมาก และมีแนวโน้มจะเกิดกับวัยทำงานที่อายุน้อยมากขึ้นอย่างโรคความดันโลหิตสูงแล้วโรคความดันโลหิตสูงอันตรายขนาดไหน หรือในบางคนเคยใช้ เครื่องวัดความดัน แล้วผลออกมาว่าความดันต่ำ แล้วความดันโลหิตปกติจะต้องอยู่ที่เท่าไรวันนี้มาหาคำตอบกันค่ะ ความดันปกติควรอยู่ที่เท่าไร ความดันโลหิตปกติ คือ 120/80-139/89 มม.ปรอท แต่ทั้งนี้ค่าความดันโลหิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น อารมณ์ ความเครียด ความตื่นเต้น การออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ ส่งผลให้แรงดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้ความดันเลือดมีค่าเกินกว่าภาวะปกติชั่วคราว  การวัดระดับความดัน สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า การวัดระดับความดันโลหิต นั้นสามารถบ่งบอกได้ว่า ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะใด เป็นการตรวจวัดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นภาวะความดันโลหิตสูง หรือ ภาวะความดันโลหิตต่ำล้วนส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเราทั้งสิ้น เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ มักเกิดจากการที่ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะ ดื่มน้ำน้อย ร่างกายสูญเสียน้ำ หรือเสียเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง ว่าสูงหรือผิดปกติหรือเปล่า

              ส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดูแลรักษาโรคเบาหวานนั่นก็คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในร่างกายสูงจนเกินไป มีสองวิธีในการวัดระดับน้ำตาลในเลือดนั่นก็คือการใช้ เครื่องมือแพทย์  เครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้าน และวิธีที่สองก้คือการตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) การตรวจนี้จะต้องทำการตรวจที่สถานพยาบาล ซึ่งจะช่วยบอกระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา วันนี้มาพูดถึงการใช้เครื่องวัดน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้านกันค่ะ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองได้อย่างไร การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด้วยตนเองจะใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลขนาดเล็กพกพาได้ ซึ่งจะใช้เลือกปริมาณเล็กน้อยจากการเจาะปลายนิ้วมือ คุณสามารถหาซื้อเครื่องมือแพทย์นี้ ในตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองและอุปกรณ์ต่างๆ จากร้านขายยาและให้จดบันทึกวัน เวลา และค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจวัดได้ไว้เสมอ และนำผลการตรวจที่จดบันทึกนี้ไปให้แพทย์ดูทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ ระดับน้ำตาลที่ถือว่าปกตินั้น ทั่วไปแพทย์จะแนะนำค่าเป้าหมายดังนี้ ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร: 80 – 1