Skip to main content

รู้ก่อนอันตรายถึงชีวิต 5 สัญญาณอันตราย เสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบ

โรคเส้นเลือดในสมองตีบ นั้นจัดว่าเป็นภัยเงียบที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากอาการที่มักไม่แสดงออกอย่างเด่นชัด ไม่มีการเจ็บป่วยหรือแสดงอาการล่วงหน้า ซึ่งอันตรายมากในบางรายอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ในทันทีหรือ เป็น "อัมพฤกษ์ - อัมพาต" ได้ ทีนี้เรามาดูสัญญาณอันตรายเสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบกันค่ะ เพื่อจะได้ป้องกันก่อนจะสายเกินแก้
หลอดเลือดในสมองตีบ เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดสมองอย่างหนึ่ง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง สิ่งที่ทำให้เส้นเลือด หรือหลอดเลือดตีบ คือการที่มีลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันในเส้นเลือด หรืออาจจะมีลิ่มเลือดก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดสมอง และขยายใหญ่ขึ้นจนอุดตันเส้นเลือดในสมองหรือทำให้เส้นเลือดในสมองตีบจนเลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก ส่งผลให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก ทำให้ให้เซลล์สมองถูกทำลายเสียหาย อาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตและอาจเสียชีวิตได้




สัญญาณอันตราย เสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

1. มีอาการชา หรืออ่อนแรงที่ใบหน้า และ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
2. พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว ขยับปากได้ไม่ปกติ น้ำลายไหล กลืนลำบาก
3. ปวด หรือเวียนศีรษะเฉียบพลัน และอาเจียน
4. ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือเห็นเพียงครึ่งซีก หรืออาจจะตาบอดข้างเดียวเฉียบพลัน
5. เดินเซ ทรงตัวลำบาก


อาการเหล่านี้อาจเกิดเพียงชั่วคราวแล้วหายไป อาจจะเกิดขึ้นหลายครั้งเป็นๆ หายๆ หรืออาจจะมีอาการตอนที่หลอดเลือดอุดตันจนมีเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอกะทันหัน จนทำให้สมองขาดเลือดถาวร ดังนั้นหากมีสัญญาณตามอาการดังกล่าวแม้เพียงครั้งเดียว ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยทันที เพราะหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจมีความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้เช่นกันค่ะ
ขอบคุณข้อมูล sanook.com/health/10749/

Comments

Popular posts from this blog

การเตรียมความพร้อมก่อนวัดความดันโลหิตเองที่บ้าน

               ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุหลักอันดับหนึ่งของอัตราการเสียชีวิตทั่วโลก โดยภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคทางหลอดเลือดต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นสามารถป้องกันโรคต่าง ๆได้อย่างทันท้วงที ซึ่งปัจจุบันเราสามารถตรวจวัดความดันได้เองที่บ้านโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาลบ่อยๆแล้ว โดยการใช้ เครื่องวัดความดัน นั่นเอง ไปดูการเตียมความพร้อมและวิธีใช้เครื่องวัดความดันเองที่บ้านกันค่ะ การเตรียมความพร้อม การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองอาจต้องทำในที่เงียบ ๆ หากจำเป็นต้องฟังเสียงหัวใจด้วย ควรปัสสาวะให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะการปวดปัสสาวะอาจส่งผลต่อค่าระดับความดันโลหิต หากมีการสูบบุหรี่หรือการดื่มกาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนหน้า ควรนั่งพักก่อนวัดความดันอย่างน้อย 1/2 ชั่วโมง พับแขนเสื้อขึ้น หากสวมเสื้อคลุมแขนยาวรัดแขนควรถอดออกก่อน ทำการวัดความดัน โดยกดปุ่มที่เครื่องเพื่อเริ่มวัดได้ทันที และรอให้แรงดันที่เครื่องคลายตัวลงจนเป็...

เครื่องมือแพทย์สามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้

               ถ้าพูดถึงยาสามัญประจำบ้านเราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะเป็นยาที่ควรจะมีติดบ้านเพื่อใช้ในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็น  เครื่องมือแพทย์ สามัญประจำบ้าน หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นและมองว่าไกลตัว ไม่ต้องมีติดบ้านก็ได้ แต่จริงๆแล้วก็มีความสำคัญพอๆกับยาสามัญเลยนะคะ ซึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ควรมีติดบ้านก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมาชิกในครอบครัวนั้นด้วย ควรมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ เครื่องชั่งน้ำหนัก  ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อ้วนขึ้น ผอมลง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือควรทานอาหารให้มากขึ้น ปรอทวัดไข้  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งกับบ้านที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กหรือทารก ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีไข้หรือป่าว ไข้สูงระดับที่ต้องพบแพทย์หรือยัง เครื่องวัดความดัน  จำเป็นอย่างมากในบ้านที่มีผู้สูงอายุ เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้...

วิธีดูแลผู้ป่วยแผลกดทับและป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น

             แผลกดทับ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญในผู้ป่วยอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียงหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เพราะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยซ้ำเติมแหละมีอาการหนักขึ้น อีกทั้งการดูแลรักษายังทำให้ต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย การเลือกใช้ ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วย  จึงช่วยลดโอกาสหรือความรุนแรงอาการแผลกดทับได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีดูแลรักษาตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าวอีกค่ะ การป้องกันการเกิดแผลกดทับ การเปลี่ยนและจัดท่าผู้ป่วย โดยตามลักษณะของผู้ป่วย โดยยึดเอาความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และนอนบนเตียง ควรปรับเปลี่ยนท่านอนใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง 2) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และนั่งบนรถเข็น ควรปรับเปลี่ยนท่านั่งใหม่ทุก ๆ 1 ชั่วโมง 3) ผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดีและสามารถช่วยเหลือตนเองได้บ้าง ควรช่วยผู้ป่วยขยับเปลี่ยนท่าด้วยตนเองทุก 15 นาที              นอ...