Skip to main content

ตัวช่วยดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียง “ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วย”

แผลกดทับเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง ผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะเป็นรอยแดงและรอยแตกลายของผิวหนัง อาจเกิดการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อ ซึ่งหากทิ้งไว้ไม่รักษาจะเกิดเป็นแผลและติดเชื้อได้


อย่างไรก็ดี แผลกดทับยังเป็นสิ่งที่ป้องกันหรือลดความรุนแรงลงได้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีนับตั้งแต่การดูแลพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง การจัดท่านอนที่เหมาะสม การดูแลผิวหนังอย่างสม่ำเสมอ การดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ และการใช้อุปกรณ์ที่ช่วยเช่น ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วย



ประโยชน์ของที่นอนลม


1. ป้องกันแผลกดทับ
ที่นอนลมเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ต่างจากที่นอนทั่วไป ถูกออกแบบให้เกิดความสมดุลเวลานอน ผิวหนังจะไม่ถูกกดทับเฉพาะจุด ด้วยความนุ่มของที่นอน และความยืดหยุ่น ทำให้สามารถป้องกันแผลกดทับได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ผลิกตัวไปมาลำบาก ก็ช่วยให้นอนสบายมากขึ้น ไม่เจ็บและทรมารจากแผลกดทับ

2. ผู้ป่วยนอนหลับสบายมากขึ้น
เมื่อผิวหนังของเราถูกกดทับ หรือระบายอากาศออกไปไม่ได้ ก็จะเกิดอาการแผลกดทับ ซึ่งที่นอนลม สามารถช่วยให้ถ่ายเทอากาศได้ตลอดเวลา ทำให้คนไข้หรือผู้ป่วยติดเตียง นอนหลับสบายมากขึ้น

3. หาซื้อได้ง่ายตามร้านทั่วไป
ปัจจุบันที่นอนลมรังผึ้ง ที่นอนลมแบลอนมีจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ทั่วไป สามารถหาซื้อข้างบ้านได้สะดวก แต่ควรเลือกร้านที่ขายอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานเท่านั้น ไม่ควรซื้อในราคาที่ต่ำเกินจริง เพราะอาจจะได้สินค้าที่เสียหายได้ง่าย เพราะไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน

4. เคลื่อนย้ายและดูแลรักษาได้ง่าย
เป็นที่นอนลมที่มีน้ำมันเบามาก รองรับน้ำหนักได้กว่าร้อยกิโลกรัม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศให้กับผู้ป่วยติดเตียง และยังดูแลรักษาได้ง่าย


ดังนั้นใครที่มีคนในครอบครัวที่ป่วยนอนติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ที่นอนลมก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่คุณรัก ป้องกันง่ายๆด้วยที่นอนลมสำหรับผู้ป่วยนะคะ

Comments

Popular posts from this blog

การเตรียมความพร้อมก่อนวัดความดันโลหิตเองที่บ้าน

               ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุหลักอันดับหนึ่งของอัตราการเสียชีวิตทั่วโลก โดยภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคทางหลอดเลือดต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นสามารถป้องกันโรคต่าง ๆได้อย่างทันท้วงที ซึ่งปัจจุบันเราสามารถตรวจวัดความดันได้เองที่บ้านโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาลบ่อยๆแล้ว โดยการใช้ เครื่องวัดความดัน นั่นเอง ไปดูการเตียมความพร้อมและวิธีใช้เครื่องวัดความดันเองที่บ้านกันค่ะ การเตรียมความพร้อม การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองอาจต้องทำในที่เงียบ ๆ หากจำเป็นต้องฟังเสียงหัวใจด้วย ควรปัสสาวะให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะการปวดปัสสาวะอาจส่งผลต่อค่าระดับความดันโลหิต หากมีการสูบบุหรี่หรือการดื่มกาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนหน้า ควรนั่งพักก่อนวัดความดันอย่างน้อย 1/2 ชั่วโมง พับแขนเสื้อขึ้น หากสวมเสื้อคลุมแขนยาวรัดแขนควรถอดออกก่อน ทำการวัดความดัน โดยกดปุ่มที่เครื่องเพื่อเริ่มวัดได้ทันที และรอให้แรงดันที่เครื่องคลายตัวลงจนเป็...

เครื่องมือแพทย์สามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้

               ถ้าพูดถึงยาสามัญประจำบ้านเราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะเป็นยาที่ควรจะมีติดบ้านเพื่อใช้ในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็น  เครื่องมือแพทย์ สามัญประจำบ้าน หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นและมองว่าไกลตัว ไม่ต้องมีติดบ้านก็ได้ แต่จริงๆแล้วก็มีความสำคัญพอๆกับยาสามัญเลยนะคะ ซึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ควรมีติดบ้านก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมาชิกในครอบครัวนั้นด้วย ควรมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ เครื่องชั่งน้ำหนัก  ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อ้วนขึ้น ผอมลง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือควรทานอาหารให้มากขึ้น ปรอทวัดไข้  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งกับบ้านที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กหรือทารก ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีไข้หรือป่าว ไข้สูงระดับที่ต้องพบแพทย์หรือยัง เครื่องวัดความดัน  จำเป็นอย่างมากในบ้านที่มีผู้สูงอายุ เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้...

วิธีดูแลผู้ป่วยแผลกดทับและป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น

             แผลกดทับ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญในผู้ป่วยอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียงหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เพราะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยซ้ำเติมแหละมีอาการหนักขึ้น อีกทั้งการดูแลรักษายังทำให้ต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย การเลือกใช้ ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วย  จึงช่วยลดโอกาสหรือความรุนแรงอาการแผลกดทับได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีดูแลรักษาตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าวอีกค่ะ การป้องกันการเกิดแผลกดทับ การเปลี่ยนและจัดท่าผู้ป่วย โดยตามลักษณะของผู้ป่วย โดยยึดเอาความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และนอนบนเตียง ควรปรับเปลี่ยนท่านอนใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง 2) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และนั่งบนรถเข็น ควรปรับเปลี่ยนท่านั่งใหม่ทุก ๆ 1 ชั่วโมง 3) ผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดีและสามารถช่วยเหลือตนเองได้บ้าง ควรช่วยผู้ป่วยขยับเปลี่ยนท่าด้วยตนเองทุก 15 นาที              นอ...