Skip to main content

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง ว่าสูงหรือผิดปกติหรือเปล่า

              ส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดูแลรักษาโรคเบาหวานนั่นก็คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในร่างกายสูงจนเกินไป มีสองวิธีในการวัดระดับน้ำตาลในเลือดนั่นก็คือการใช้เครื่องมือแพทย์ เครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้าน และวิธีที่สองก้คือการตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) การตรวจนี้จะต้องทำการตรวจที่สถานพยาบาล ซึ่งจะช่วยบอกระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา วันนี้มาพูดถึงการใช้เครื่องวัดน้ำตาลด้วยตัวเองที่บ้านกันค่ะ


ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองได้อย่างไร

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด้วยตนเองจะใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลขนาดเล็กพกพาได้ ซึ่งจะใช้เลือกปริมาณเล็กน้อยจากการเจาะปลายนิ้วมือ คุณสามารถหาซื้อเครื่องมือแพทย์นี้ ในตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองและอุปกรณ์ต่างๆ จากร้านขายยาและให้จดบันทึกวัน เวลา และค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจวัดได้ไว้เสมอ และนำผลการตรวจที่จดบันทึกนี้ไปให้แพทย์ดูทุกครั้งที่ไปพบแพทย์
ระดับน้ำตาลที่ถือว่าปกตินั้น ทั่วไปแพทย์จะแนะนำค่าเป้าหมายดังนี้
  • ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร: 80 – 130
  • ระดับน้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมง: ต่ำกว่า 180

ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปควรทำอย่างไร

หากตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองแล้วพบว่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดสำหรับคุณหรือสูงกว่า 180 นั่นหมายถึงมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง วิธีหนึ่งในการลดระดับน้ำตาลก็คือการดื่มน้ำแก้วใหญ่ และออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว  ให้ปรึกษาแพทย์หรือทีมแพทย์ที่ดูแลคุณหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า  3 ครั้งในช่วง 2 สัปดาห์  โดยไม่ทราบสาเหตุ

ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน : โดยทั่วไปเวลาที่แนะนำให้ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดคือ เมื่อตื่นนอน, ก่อนอาหาร, หลังอาหาร 2 ชั่วโมง และก่อนนอน  แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเอง

แหล่งที่มา www.honestdocs.com

Comments

Popular posts from this blog

การเตรียมความพร้อมก่อนวัดความดันโลหิตเองที่บ้าน

               ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุหลักอันดับหนึ่งของอัตราการเสียชีวิตทั่วโลก โดยภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคทางหลอดเลือดต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นสามารถป้องกันโรคต่าง ๆได้อย่างทันท้วงที ซึ่งปัจจุบันเราสามารถตรวจวัดความดันได้เองที่บ้านโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาลบ่อยๆแล้ว โดยการใช้ เครื่องวัดความดัน นั่นเอง ไปดูการเตียมความพร้อมและวิธีใช้เครื่องวัดความดันเองที่บ้านกันค่ะ การเตรียมความพร้อม การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองอาจต้องทำในที่เงียบ ๆ หากจำเป็นต้องฟังเสียงหัวใจด้วย ควรปัสสาวะให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะการปวดปัสสาวะอาจส่งผลต่อค่าระดับความดันโลหิต หากมีการสูบบุหรี่หรือการดื่มกาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนหน้า ควรนั่งพักก่อนวัดความดันอย่างน้อย 1/2 ชั่วโมง พับแขนเสื้อขึ้น หากสวมเสื้อคลุมแขนยาวรัดแขนควรถอดออกก่อน ทำการวัดความดัน โดยกดปุ่มที่เครื่องเพื่อเริ่มวัดได้ทันที และรอให้แรงดันที่เครื่องคลายตัวลงจนเป็...

เครื่องมือแพทย์สามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้

               ถ้าพูดถึงยาสามัญประจำบ้านเราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะเป็นยาที่ควรจะมีติดบ้านเพื่อใช้ในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็น  เครื่องมือแพทย์ สามัญประจำบ้าน หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นและมองว่าไกลตัว ไม่ต้องมีติดบ้านก็ได้ แต่จริงๆแล้วก็มีความสำคัญพอๆกับยาสามัญเลยนะคะ ซึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ควรมีติดบ้านก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมาชิกในครอบครัวนั้นด้วย ควรมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ เครื่องชั่งน้ำหนัก  ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อ้วนขึ้น ผอมลง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือควรทานอาหารให้มากขึ้น ปรอทวัดไข้  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งกับบ้านที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กหรือทารก ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีไข้หรือป่าว ไข้สูงระดับที่ต้องพบแพทย์หรือยัง เครื่องวัดความดัน  จำเป็นอย่างมากในบ้านที่มีผู้สูงอายุ เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้...

วิธีดูแลผู้ป่วยแผลกดทับและป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น

             แผลกดทับ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญในผู้ป่วยอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียงหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เพราะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยซ้ำเติมแหละมีอาการหนักขึ้น อีกทั้งการดูแลรักษายังทำให้ต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย การเลือกใช้ ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วย  จึงช่วยลดโอกาสหรือความรุนแรงอาการแผลกดทับได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีดูแลรักษาตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าวอีกค่ะ การป้องกันการเกิดแผลกดทับ การเปลี่ยนและจัดท่าผู้ป่วย โดยตามลักษณะของผู้ป่วย โดยยึดเอาความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และนอนบนเตียง ควรปรับเปลี่ยนท่านอนใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง 2) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และนั่งบนรถเข็น ควรปรับเปลี่ยนท่านั่งใหม่ทุก ๆ 1 ชั่วโมง 3) ผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดีและสามารถช่วยเหลือตนเองได้บ้าง ควรช่วยผู้ป่วยขยับเปลี่ยนท่าด้วยตนเองทุก 15 นาที              นอ...